วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญของการแสดงโขน

  • โขน ในภาษาเบงกาลี ซึ่งมีคำว่า โขละ หรือ โขล ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู โดยตัวรูปร่างคล้าย มฤทังคะ ( ตะโพน ) ส่วนใหญ่เป็น เครื่องดนตรีที่พวกไวษณพนิกายในแคว้น แบงกอลนิยมใช้ประกอบการ เล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ยาตรา ซึ่งหมายถึง ละครเร่ และหากเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เคยนำเข้ามาในดินแดนไทย แล้วนำมาใช้ประกอบการ เล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกการแสดง ชุดนั้นว่า โขล ตามชื่อเครื่องดนตรี
  • โขน ในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ โกล หรือ โกลัม " ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ การแต่งตัว หรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ
  • โขน ในภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า ษูรัต ควาน (Surat khwan) ซึ่งษูรัตแปลว่า ตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า ควาน หรือโขน (Khon) ซึ่งคล้ายกับ ผู้พากย์และผู้เจรจาอย่างโขน
  • โขน ในภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า ละคร แต่เขียนเป็นอักษรว่า ละโขน ซึ่งหมายถึง มหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่างๆ กับมีคำว่า โขล อธิบายไว้ในพจนานุกรมเขมรว่า โขล ละคอนชาย เล่นเรื่องรามเกียรติ์

หากที่มาของโขนมา จากคำในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและภาษาอิหร่าน ก็คงจะมาจากพวกพ่อค้าวาณิช และศาสนาจารย์ของชาวพื้นเมืองประเทศนั้น ๆ แพร่มาสู่ดินแดนในหมู่เกาะชวา มาลายูและแหลมอินโดจีน
จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังมิอาจสรุปได้แน่นอนว่า โขนเป็นคำมาจากภาษาใด แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้จะพบว่า โขน หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลอง ต่างๆ ที่เรียกว่า หัวโขน

ข้อมูลจาก
https://nanticha.wikispaces.com/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%99

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น