วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

นาฎยศัพท์

นาฎยศัพท์
   เป็นคำศัพท์เฉพาะ ใช้ในการฟ้อนรำ สามารถสื่อความหมายกันได้ แสดงลักษณะและการเคลื่อนไหว
ของร่างกายที่สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง
 
ตัวนางและตัวพระ

ตัวพระและตัวนาง
การฝึกปฏิบัตินาฏยศัพท์จะแบ่งผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ ตัวพระ และตัวนาง

 

นาฏยศัพท์การใช้มือ  นาฏยศัพท์การใช้มือ แบ่งเป็น

จีบ

จีบ

    จีบ หมายถึง กริยาของมือที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ จรดกับข้อแรกของนิ้วชี้ ( นับจากปลายนิ้ว ) ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย กรีดเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน


การจีบมีหลายลักษณะ ดังนี้

จีบหงาย

จีบหงาย
จีบหงาย เป็นการหงายมือจีบพร้อมหักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นด้านบน
จีบคว่ำ


จีบคว่ำ เป็นการคว่ำมือที่จีบพร้อมหักข้อมือลงให้ปลายนิ้วชี้ ชี้ลงล่าง
จีบหลัง

จีบหลัง
จีบหลัง เมื่อทำมือจีบ ให้ส่งลำแขนและมือไปด้านหลัง เหยียดแขนตึงและพลิกข้อมือจีบให้หงายขึ้น
จีบปรกข้าง
จีบปรกข้าง
จีบปรกข้าง เป็นการยกส่วนแขนและจีบสูงระดับวงบน หันมือที่จีบเข้าหาแง่ศีรษะ
จีบปรกหน้า

จีบปรกหน้า
   จีบปรกหน้า เป็นการจีบ โดยยกแขนและมือที่จีบ ให้นิ้วสูงระดับหน้าผาก หันมือที่จีบเข้าหาใบหน้าและหักข้อมือเข้าหาแขน
จีบหงายชายพก

จีบหงายชายพก
จีบหงายชายพก หมายถึง การนำมือที่จีบมาไว้ทำหัวเข็มขัด ให้หงายข้อมือขึ้น
จีบล่อแก้ว

จีบล่อแก้ว
   จีบล่อแก้ว เป็นกริยาของมือ ให้นิ้วหัวแม่มือกดปลายนิ้วกลาง นิ้วที่เหลือกรีดออกให้ตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
ตั้งวง
ตั้งวง
   ตั้งวง เป็นการยกแขนให้ลำแขนโค้ง  นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเพียงเล็กน้อย และหักข้อมือไปทางหลังมือเสมอ   
การตั้งวงมีหลายลักษณะ ดังนี้
วงบน

ตั้งวงบน
   วงบน ให้ยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ตัวพระให้ปลายนิ้วสูงระดับแง่ศีรษะ ส่วนตัวนางปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว วงบนของตัวพระจะกว้างกว่าตัวนาง
วงกลาง

ตั้งวงกลาง
   วงกลาง เป็นการยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่
วงหน้า

วงหน้า
   วงหน้า เป็นการยกแขนที่ตั้งวงไปด้านหน้า ปลายนิ้วของตัวพระอยู่ระดับข้างแก้ม ส่วนตัวนางปลายนิ้วอยู่ระดับปาก
วงล่าง

วงล่าง

   วงล่าง เป็นการตั้งวงระดับหัวเข็มขัดโดยทอดลำแขนโค้งลงด้านล่าง ตัวพระกันศอกให้เป็นช่องว่างระหว่างแขนกับลำตัว ส่วนตัวนางไม่ต้องกันศอก
วงบัวบาน

วงบัวบาน
   วงบัวบาน เป็นการตั้งวงโดยการหงายลำแขน พร้อมทั้งหักข้อศอก ในลักษณะตั้งฉาก หงายฝ่ามือและหักข้อมือลง แทงปลายมือออกไปด้านข้าง ให้วงอยู่ระดับแง่ศีรษะ

นาฏยศัพท์การใช้เท้า
ประเท้า

ประเท้า
   ประเท้า เป็นการย่อเข่าข้างที่เท้ายืนรับน้ำหนัก ส่วนเท้าอีกข้างหนึ่งวางเหลื่อมข้างที่ยืน โดยวางส้นเท้าติดพื้น และใช้จมูกเท้าแตะพื้นเบาๆแล้วยกขึ้น
ยกเท้า

ยกเท้า
    ยกเท้า เป็นกริยาต่อจากการประเท้า โดยยกเท้าขึ้นด้านหน้าให้ฝ่าเท้าขนานกับพื้น ยกเท้าสูงระดับหน้าแข้งของเท้าที่ยืนรับน้ำหนักเชิดปลายนิ้วเท้าขึ้น ให้เฉียงปลายเท้าเล็กน้อย ตัวนางไม่กันเข่า ตัวพระกันเข่าออกให้เห็นเหลี่ยมขา และหันน่องออกด้านหน้า
ตบเท้า

ตบเท้า
   ตบเท้า เป็นการวางส้นเท้าข้างที่ตบชิดกับเท้าข้างที่ยืนรับน้ำหนัก ย่อเข่าลงและเผยอจมูกเท้าขึ้น สะดุ้งตัวขึ้น ตบเท้าตามจังหวะเพลง
ก้าวเท้า

ก้าวเท้า
   ก้าวเท้า เป็นการก้าวเท้าให้ส้นเท้าวางถึงพื้นก่อนปลายเท้าเสมอ ให้ปลายเท้าเฉียงออกด้านข้างเล็กน้อย และเปิดส้นเท้าหลัง
ก้าวข้าง

ก้าวข้าง
   การก้าวข้าง ตัวพระให้ก้าวเท้าไปด้านข้าง ย่อเข่าลง และกันเข่าออก ทิ้งน้ำหนักลงเท้าข้างที่ก้าว เท้าอีกข้างไม่ต้องเปิดส้น ส่วนตัวนางก้าวเท้าไปด้านข้าง ให้ส้นเท้าที่ก้าวอยู่เหนือเท้าข้างที่ยืนเล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักตัวลง เปิดส้นเท้าหลังและหลบเข่าตาม
กระทุ้งเท้า

กระทุ้งเท้า
   กระทุ้งเท้า เป็นกริยาของเท้าที่วางอยู่ข้างหลัง โดยยืนเปิดส้นเท้า ให้นิ้วเท้าทั้ง 5 วางลงบนพื้นด้วยจมูกเท้า พร้อมทั้งกระแทกจมูกเท้ากับพื้นเบาๆ
กระดกเท้า
กระดกเท้า
   กระดกเท้า เป็นกริยาต่อเนื่องจากการกระทุ้งเท้าแล้วยกขึ้น วิธีกระดกเท้า ต้องให้ส่วนของน่องหนีบติดกับท้องขา โดยส่งเข่าไปด้านหลังให้มากที่สุด ปลายนิ้วเท้าชี้ลง
ถัดเท้า

ถัดเท้า
เป็นการก้าวเท้าซ้ายด้านหน้า ให้ส้นเท้าขวากระแทกพื้นใกล้ ๆ เท้าซ้ายจากนั้นก้าวเท้าขวา ทำซ้ำไปเรื่อยๆ


ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
   ภาษาท่าทางนาฏศิลป์  ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้
   1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
    2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อิริยาบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
    3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้าโศก
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด
    การเปรียบเทียบท่าทางธรรมชาติ กับภาษาท่าของตัวพระและตัวนาง
ท่าแนะนำตัวเอง
ท่าแนะนำตัวเอง
เป็นการทำมือซ้ายตั้งวงหน้าแล้วพลิกข้อมือ เปลี่ยนเป็นจีบหันเข้าหาตัวระหว่างอกมือขวาเท้าสะเอว
หรือจีบหลังก็ได้
ท่าท่าน
ท่าท่าน
เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง โดยใช้ส่วนทั้งหมดของฝ่ามือในลักษณะของการตะแคงสันมือระดับศีรษะ
นิ้วเหยียดตึงให้ปลายมือไปสู่ผู้ที่กล่าวถึง ผู้ที่อาวุโสหรือศักดิ์สูงกว่า
ท่าปฏิเสธท่าปฏิเสธ
เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งวงหน้า สั่นปลายนิ้วไปมาช้าๆ
ท่าเรียก
ท่าเรียก
เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งวงด้านหน้า  แล้วกดข้อมือลง
เดินมือเข้าหาตัวเล็กน้อย  เอียงตรงข้ามกับมือที่เรียก
ท่าไป
ท่าไป
เป็นการทำมือจีบหงายระดับไหล่ แล้วหมุนข้อมือเป็นจีบคว่ำลง หักข้อมือ
ปล่อยจีบออกเป็นวง เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ทำ

ภาษาท่าแสดงกริยาอาการ
ท่านั่งตัวนางและตัวพระ


ท่านั่งตัวนางและตัวพระ

ตัวพระ นั่งพับเพียบไปทางขวา แยกเข่าซ้ายออกให้เท้าซ้ายวางหน้าหัวเข่าขวา มือซ้ายเหยียดตึงแบมือตั้งบนเข่าซ้ายมือขวางอแขนแบมือตั้งบนขาขวา ลำตัวตั้งตรง

ตัวนาง นั่งพับเพียบไปทางขวา เชิดปลายนิ้วเท้ามาด้านหน้าเท้าขวาซ้อนบนเท้าซ้าย มือซ้ายแบมือวางบนขาขวาด้านนอก มือขวาแบมือวางถัดมาทางด้านใน งอแขนขวา เอียงขวา
ท่ายืน

ท่ายืน

ตัวพระ  ใช้เท้าขวายืนรับน้ำหนัก ส่วนเท้าซ้ายวางเท้าเหลื่อมเท้าขวา ตึงเข่าซ้ายเชิดปลายนิ้วเท้าขึ้น
มือขวาเท้าสะเอว  มือซ้ายแบฝ่ามือวางแนบไว้ที่หน้าขา  ศีรษะเอียงไปทางขวา กดไหล่ขวาลง
ตัวนาง  ยืนด้วยเท้าขวา เท้าซ้ายวางเหลื่อมไว้ เชิดปลายนิ้วเท้าซ้าย มือขวาจีบหงายที่ชายพก
มือซ้ายแบมือวางบนหน้าขาซ้าย เหยียดแขนตึง ศีรษะเอียงซ้าย กดไหล่ซ้าย


ท่า นางไหว้ พระรับไหว้
ท่านางไหว้พระรับไหว้
เป็นการพนมมือระหว่างอก แยกปลายนิ้วให้ออกจากกัน
ท่าเดิน

ท่าเดิน

ตัวพระ เริ่มด้วยการก้าวเท้าซ้ายมาข้างหน้า เท้าขวาเปิดส้นเท้า มือทั้งสองจีบคว่ำระดับเอวข้างลำตัวทั้งสองข้าง แล้วปล่อยจีบเป็นมือขวาตั้งวงล่างระดับเอว มือซ้ายตั้งมือทอดแขนข้างลำตัวเอียงขวา ต่อไปก้าวเท้าขวา ส่วนเท้าซ้ายเปิดส้นด้านหลัง มือทั้งสองจีบคว่ำ แล้วปล่อยจีบเป็นมือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาแบออกทอดแขนข้างลำตัวเอียงทางซ้าย ทำสลับกันไปเรื่อยๆ

ตัวนาง (ท่าเดินมือเดียว) เริ่มด้วยก้าวเท้าซ้ายด้านหน้า เท้าขวาเปิดส้น มือซ้ายทำจีบหงายที่ชายพก
มือขวาแบมือตั้งแขนตึง แล้วหยิบจีบคว่ำแล้วเคลื่อนมือมาปล่อยเป็นวงล่างเอียงขวา ต่อด้วยก้าวเท้าขวาด้านหน้า เท้าซ้ายเปิดส้น มือซ้ายจีบหงายเหมือนเดิม หยิบจีบคว่ำที่ชายพก แล้วเคลื่อนมือขวาไปข้างลำตัว ปล่อยจีบเป็นมือแบแขนตึง กดไหล่และเอียงศีรษะไปทางซ้าย ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา


ภาษาท่าแสดงอารมณ์ความรู้สึก
ท่าดีใจ
ท่าดีใจ
เป็นการใช้มือซ้ายกรีดจีบ หักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้และหัวแม่มือหันเข้าหาใบหน้าให้อยู่ตรงกับปาก
ท่ารัก
ท่ารัก
เป็นการทำมือทั้งสองตั้งวงไขว้กันระดับอก   แล้วหมุนข้อมือทาบลงที่ฐานไหล่
ท่าอาย
ท่าอาย
เป็นการใช้ฝ่ามือแตะข้างแก้มใกล้ขากรรไกร ก้าวเท้าข้างที่มือแตะแก้มไขว้ไปอีกด้านตรงข้าม
(ก้าวหลบคนที่เราอาย) ส่วนใหญ่เป็นท่าของตัวนาง

ท่าร้องไห้
ท่าร้องไห้
เป็นการใช้มือซ้ายแตะที่หน้าผาก มือขวาจีบหงายที่ชายพก ตัวพระมือขวาเท้าสะเอว ก้มหน้าเล็กน้อย พร้อมสะดุ้งตัวขึ้นเหมือนกำลังสะอื้น แล้วจึงใช้นิ้วชี้ซ้ายแตะที่นัยน์ตาทั้งสองข้าง เหมือนกำลังเช็ดน้ำตา
ท่าโกรธ
ท่าโกรธ
เป็นการใช้ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งถูที่ก้านคอใต้ใบหูไปมา แล้วกระชากลง ถ้ากระชากเบาๆก็เพียงเคืองใจ
แต่ถ้ากระชากแรงๆพร้อมทั้งกระทีบเท้าลงกับพื้นแสดงว่าโกรธจัด
ท่าโศกเศร้า, เสียใจ, ห่วงใย
ท่าโศกเศร้า เสียใจ
เป็นการประสานลำแขนส่วนล่าง ใช้ฝ่ามือทั้งสองวางทาบระดับหน้าท้องใกล้ๆกระดูกเชิงกราน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น